TCAS61/62 คณะไหน ใช้ 9 วิชาสามัญอะไรบ้าง?

ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ที่มา เพจFACEBOOK Dek-D’s TCAS สอบติดไปด้วยกัน

https://web.facebook.com/dekdTCAS/?tn=kCH-R&eid=ARAXj0a01SVjiBetAvsqqvh3le83U8X7dNrvLseDJ6JPC8ikDUcjic87UZ-Pm5gYjmTFsSVCfZpmJnQR&hc_ref=ARSNPhhlhh4m0OUGhLPJgeDhvc2gH0nI28jYBSfinT-YlJD4HpJV-ZfsnXX4Y3oxs1A&fref=nf&xts%5B0%5D=68.ARAcoAfrqE7-1OYMYIIC1XxGap-Kj2Nqw3dqQjsd7ZQ8vcNOndoGj1z6CWuK4b14WTMpNcRnqQBqVR4tJyVqCm08DhxSfX91DGZGNMYZmM2lBfN76krMhAYApFyUmpga8yAi3SUfqurVQKDpaWLMadpJArNkqZoPltwPwW50ErykrigPG4Sawr_CDMQZdgJvzRbkCyE-0tTipYED-jFoTWJfiqhr6nQ_xBB9Pksj5zrZD2zTLR3LPWqk3GA0TQ35xHaY78wsGX6qxlIKOx3UsH8Nh8CQ4BQm6_138m4pzz0kynh3FoHgbvoPI_uoSntAvQo3uTGbR-lYEaXya-HAy4zp15cNyzreQJ18bq3swy7bHojtOyNbCRZtcLmeqHOPmZd7zJpOp2RzxvIUmZHh5xTQX6MNkbE6fK7DBC-YgNAn7K-u54MxHDnDql6RJCr65SVocC40G1Ue_3wvfenbrAZs11-SAzmgo1tBKehritINegLLlCE2ng

องค์ประกอบคะแนนของคณะต่างๆ

GAT / PAT

GAT และ PAT ถือว่าเป็นคะแนนที่สำคัญมากทีเดียวเลยล่ะ เพราะใช้ในการสอบเข้ามหาลัย ทั้งในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งในแอดมิชชั่นกลางนั้น GAT/PAT รวมกันจะเป็นสัดส่วนถึง 50% เลยละคะ เรียกว่าถ้าไม่มีคะแนนนี้ก็ไม่ได้แอดมิชชั่น ส่วนอีก 50% ที่เหลือก็เป็นสัดส่วนรวมกันของเกรด(GPAX) ซึ่งจะเป็นเกรดเฉลี่ยรวมตั้งแต่ชั้น ม.4 ถึง ม.6

และที่บอกว่ารับตรงก็ใช้คะแนน GAT/PAT  นั้น บางที่แทบจะใช้เป็นเกณฑ์สำคัญเลยทีเดียว เช่น รับตรงปกติ จุฬาฯ, รับตรง มธ.บางคณะ, รับตรงแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น และรับตรงรอบแรกส่วนใหญ่ก็จะใช้ GAT/PAT รอบแรกเท่านั้น เพราะรับตรงโครงการนั้นๆ มักจะเสร็จสิ้นก่อนจะสอบ GAT/PAT รอบมีนาคม จึงใช้ได้แค่รอบเดียว ดังนั้นเตือน นักเรียน ม.6 อย่าลืมสมัคร จะได้ไม่เสียสิทธิ์รับตรงของบางคณะ

GAT/PAT

GAT และ PAT คืออะไร สอบไปทำไม?

GAT คือ การวัดความถนัดทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

Part ภาษาไทย หรือที่เราเรียกว่าพาร์ทเชื่อมโยง หรือ GAT เชื่อมโยงกัน จะวัดเรื่องความสามารในการอ่า ะวิเคราะห์ การเขียน และการแก้โจทย์ปัญหา

Part ภาษาอังกฤษ ก็วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไป Speaking  /Conversation/Vocabulary/Structure and Writing/Reading Comprehension รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนน

PAT คือ วิชาสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งออกเป็นหลายวิชา และวัดศักยภาพตามกลุ่มวิชาชีพ คือ

PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ และภาษาบาลี

แต่ละคณะ ใช้คะแนนอะไรบ้าง?

แต่ละคณะจะใช้สัดส่วนคะแนนต่างกัน จัดเป็นกลุ่มๆได้ตามนี้ค่ะ

กลุ่มที่ 1

คณะสัตวแพทยฯ, คณะสหเวชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะวิทยาศาสตร์กีฬา

score structure grp 1

กลุ่มที่ 2

คณะทันตแพทยศาสตร์

score structure grp 2

กลุ่มที่ 3

คณะเภสัชศาสตร์

score structure grp 3

กลุ่มที่ 4

score structure grp 4

คณะวิทยาศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ

กลุ่มที่ 5

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

score structure grp 5

กลุ่มที่ 6

คณะวิศวกรรมศาสตร์

score structure grp 6

*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1 เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์

กลุ่มที่ 7

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

score structure grp 7

กลุ่มที่ 8

คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

score structure grp 8

กลุ่มที่ 9

คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์

score structure grp 9

*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2 เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

กลุ่มที่ 10

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

score structure grp 10-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 10-2

รูปแบบที่ 2

กลุ่มที่ 11

คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์

score structure grp 11-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 11-2

รูปแบบที่ 2

กลุ่มที่ 12

คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ

score structure grp 12

กลุ่มที่ 13

คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

score structure grp 13-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 13-2

รูปแบบที่ 2

score structure grp 13-3

รูปแบบที่ 3

ใครสอบได้บ้าง? คะแนนอยู่ได้กี่ปี?

สำหรับการสอบ GAT/PAT นั้น นักเรียน ม.6 เด็กซิ่ว และ สายอาชีพ สามารถสอบได้ทั้งหมด อายุของคะแนนสอบ GAT/PAT อยู่ได้ 2 ปีค่ะ นั่นหมายความว่า ถ้านักเรียน ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ค่ะ แต่ต้องระวัง เพราะในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างคือ ต้องดูรายละเอียดให้ชัดเจนถี่ถ้วน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางให้น้องๆ ม.6 เลือกสมัครสอบ GAT/PAT ได้ครบถ้วน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย จะใช้รูปแบบใดบ้าง ดังนั้นต้องไม่ลืมเช็คจากประกาศรับสมัครของแต่ละมหาวิยาลัยอีกครั้งจะได้ไม่พลาด และน้องๆ ต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวเรื่อยๆ จากทาง สทศ. ด้วยนะคะ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม

ที่มา https://teen.mthai.com/education/143695.html

แนวทางคณะสายศิลป์

#1 นักเศรษฐศาสตร์ (Economist)

นักเศรษฐศาสตร์ อาชีพที่ต้องจบจากสายศิลปศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่มีศักยภาพในด้านค่าตอบแทนที่ใกล้เคียงกับสายวิชาชีพประเภท การเงิน การแพทย์ กฎหมาย และเทคโนโลยี เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีสูงมากถึง $40,000 – $200,000 หรือประมาณ 1,325,000 – 6,629,000 บาท

#2 นักโบราณคดี (Archaeologist)

ในต่างประเทศอาชีพนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ จัดว่าเป็นอาชีพสำคัญและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก มีอัตราเงินเดือนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ $40,000 – $171,000 ต่อปี หรือประมาณ 1,325,000 – 5,667,000 บาท และยังถูกจัดว่าเป็นหลักสูตรขั้นสูงอีกด้วย

#3 นักจิตวิทยา (Psychologist)

เป็นหลักสูตรที่เน้นและมีความเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยคล้ายกันกับการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่หากต้องการจะประกอบอาชีพเป็นนักจิตบำบัด จำเป็นต้องมีความรู้ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกด้วย ในแง่ของค่าตอบแทนแล้วถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เงินเดือนเริ่มต้น $67,000 ต่อปี คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 2,220,780 บาท

#4 นักสังคมวิทยา (Sociologist)

หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับอาชีพนี้ จัดว่าเป็นสาขาวิชาที่แปลกใหม่ เนื้อหาหลักๆ มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ หลังจบการศึกษา น้องๆ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างก้าวขวางทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ เช่น งานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานด้านฝึกอบรมและพัฒนา งานนโยบายและแผน งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี $55,000 – $97,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,823,028 – 3,215,159 บาท

#5 ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relations Specialist)

นอกจากการโฆษณา ก็มีการประชาสัมพันธ์นี้แหละที่ทำให้สร้างภาพพจ์ที่ดีต่อองค์กร โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเสนอความรู้ จูงใจให้มีบุคคลหรือหน่วยงานมาสนับสนุนองค์กรของเรานั่นเอง งานของประชาสัมพันธ์มีหลากหลายมากตั้งแต่การติดต่อประสานงานกับนักข่าว การหาลูกค้า การทำโฆษณา สื่อ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของลูกค้า โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ $40,000 – $73,000 ต่อปี หรือประมาณ 1,325,000 – 2,419,000 บาท

#6 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Specialists)

อาชีพยอดนิยมอีกหนึ่งงานอย่าง HR หรืองานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ที่ทำงาในตำแหน่งตรงนี้จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อัธยาศัยดี เพราะจะต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอยู่เป็นประจำ ทำหน้าที่คัดสรรบุคคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานร่วมกันภายในองค์กรนั่นเอง เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี  $42,000 – $72,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,392,000 – 2,386,000 บาท

#7 นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)

ในยุคปัจจุบันงานด้านกราฟฟิกมีความสำคัญมาก ทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ สื่อ นิตยสาร วารสาร หนังสือ โฆษณา หรือแผ่นพับใบปลิวต่างๆ จึทำให้นักศึกษาที่เรียนจบด้านศิลปะ การออกแบบ มีความต้องการจ้างมากในต่างประเทศ หรือประเทศไทยเองก็ต้องการเช่นกัน ซึ่งนักกราฟฟิกที่ดีนั้นต้องรู้จักการผสมผสานและมีทักษะทั้งด้านศิลปะและเทคโนโลยี ให้เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อมาใช้ในงานอยู่ตลอดเวลา ทั้งงานโฆษณา ออกแบบผลิตภัณฑ์ แอนิเมชัน ออกแบบเว็บไซต์ เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี $33,000 – $65,000 หรือประมาณ 1,093,000 – 2,154,000 บาท

#8 นักเขียน (Writer)

1-6

ใครที่มีใจรักในงานเขียน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ นักเขียน เป็นอาชีพที่เหมาะสมกับคุณค่ะ หนึ่งในอาชีพสาขานิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือเรียกว่าคณะวารสารศาสตร์ ใช้ทั้งทักษะการเขียน ทักษะทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือสื่ออื่นๆ แม้แต่การเขียนออนไลน์ ถือเป็นอาชีพที่ผสมหลายๆ ทักษะความรู้เข้าด้วยกัน หากคุณเขียนด้านเฉพาะได้ยิ่งเพิ่มทักษะและเป็นที่ต้องการของนายจ้างเพิ่มขึ้นอีกเช่น การเขียนด้านวิทยาศาสตร์ รายงานข่าวได้ ท่องเที่ยว เทคโนโลยี เป็นต้น ได้เงินเดือนเฉลี่ยสูงถึง $57,000 – $65,000 ต่อปี หรือประมาณ1,889,000 – 2,154,000 บาท

#9 ครู (Teacher)

อาชีพครูในสายศฺลป์ สามารถแตกแขนงได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นครูวิชาศิลปะ ภาษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ซึ่งสายวิชาเหล่านี้จะรวมอยู่ในคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ โดยในต่างประเทศ หลักสูตรวิชาเหล่านี้จะมีการฝึกอบรมเพื่อที่หลังเรียนจบออกมาเป็นคุณครูได้เลย แต่ก็ยังต้องมีการทดสอบเสียก่อนเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยรายได้ของครูในต่างประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ $47,000-$52,000 หรือประมาณ 1,557,000 – 1,723,000บาท เริ่มต้นตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และจะมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

#10 นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)

48893


สำหรับใครที่มีใจรักในการพัฒนาสังคม ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พร้อมให้คำปรึกษาผู้อื่น แก้ไขปัญหาให้กับบุคคลต่างๆ เด็กสายศิลป์ รีบพุ่งไปเรียนที่คณะสังคมสงเคราะห์เลยค่ะ ในประเทศไทยอาชีพนี้อาจจะดูเงียบเหงาไปบ้าง แต่น้องๆ จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในต่างประเทศ เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีอัตราอยู่ที่ $37,000 – $56,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,226,400 –1,856,000 บาท

 

 

 

5 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับขอพร

     เราเชื่อว่าสำหรับเด็กม.6หลายๆคนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือและเตรียมความพร้อมอย่างดี แต่มันก็อดไม่ได้จริงๆที่จะต้องหาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อบนบานหรือขอพรให้สอบติดเข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่หวัง  ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สุดฮิตมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1.ศาลพระพิฆเนศ   

สี่แยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ

2.พระพรหมเอราวัณ   สี่แยกราชประสงค์

3.ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ

4.ศาลเจ้าพ่อเสือ บางเขน

5.ศาลคุณปู่คุณย่า เมืองทองธานี

       นอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกเยอะเลยไม่ว่าจะใกล้หรือไกล เลือกสถานที่ที่สะดวกดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามตัวเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมตัวเองด้วยนะคะไม่ใช่จะพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียว ถ้าเราเตรียมความพร้อมมาอย่างดีแล้ว เราเชื่อว่าทุกคนจะไม่เสียใจแน่นอนค่ะ