รวมค่าเทอม มหาวิทยาลัยของรัฐ ทั่วประเทศ

มหาวิทยาลัยรัฐบาลเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของเด็กที่มุ่งหวังจะสอบเข้าให้ได้ ด้วยเพราะมาตรฐานหลาย ๆ อย่าง และค่าเทอม ที่อาจจะไม่ได้สูงมากนัก มาดูกันเลยว่าแต่ละมหาวิทยาลัย มีค่าเทอมเท่าไหร่บ้าง รวมมาให้ดูทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ แบ่งกลุ่มมาให้เพื่อความสะดวกในการเลือกดูได้ง่าย ๆ ตามมหาวิทยาลัยที่สนใจ มหาวิทยาลัยในกรุงเทพและปริมณฑล, ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคใต้, กลุ่มเทคโนโลยีราชมงคล และกลุ่มราชภัฏ 
 

กรุงเทพและปริมณฑล

ขอบคุณภาพจาก http://www.chula.ac.th


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มต้น 17,000 – 21,000
>>Click

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เริ่มต้น 13,000 – 52,000
>>Click

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– วิทยาเขตบางเขน เริ่มต้น 12,900 – 17,300
>>Click
– วิทยาเขตศรีราชา เริ่มต้น 16,500 – 35,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 22,000 – 35,900 ภาคพิเศษ
>>Click
– วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เริ่มต้น 23,200 – 30,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 39,600 – 58,000 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยมหิดล
เริ่มต้น 2,000 – 8,000 *ชั้นปีที่ 1 
>>Click

มหาวิทยาลัยศิลปากร
เริ่มต้น 15,000 – 23,000
>>Click

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เริ่มต้น 15,000 – 40,000
>>Click

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เริ่มต้น 2,400 / 1 ชุดวิชา
>>Click
 

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เริ่มต้น 25 / 1 หน่วยกิต (แรกเข้าค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท)
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เริ่มต้น 12,000 – 42,000
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เริ่มต้น 14,000 – 28,000
>>Click

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เริ่มต้น 14,000 – 25,000
>>Click

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เริ่มต้น 12,025 – 25,400
>>Click

ภาคกลาง

ขอบคุณภาพจาก http://www.wikipedia.org โดย Nantawat.top 

มหาวิทยาลัยบูรพา
เริ่มต้น 44,470 ภาคปกติ / เริ่มต้น 64,000 ภาคพิเศษ *ค่าเล่าเรียน/ตลอดหลักสูตร 
>>Click


ภาคเหนือ

ขอบคุณภาพจาก Facebook มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFU

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เริ่มต้น 20,000 – 36,000
>>Click

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เริ่มต้น 15,000 – 35,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 22,000 – 35,000 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยนเรศวร

เริ่มต้น 15,000 – 22,000
>>Click

มหาวิทยาลัยพะเยา
เริ่มต้น 12,000 – 70,000
>>Click

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เริ่มต้น 15,200 – 20,200
>>Click
 

ภาคอีสาน

ขอบคุณภาพจาก http://www.wikipedia.org โดย Oatz


มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เริ่มต้น 12,000 – 45,000
>>Click

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เริ่มต้น 10,000 – 18,000
>>Click

มหาวิทยาลัยนครพนม
เริ่มต้น 7,000 – 9,500
>>Click *หน้า 6 – 7 

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เริ่มต้น 2,000 – 10,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 2,000 – 25,000 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เริ่มต้น 186,700 – 2,290,700 *ค่าเล่าเรียน/ตลอดหลักสูตร (เริ่มต้น-สูงสุด)
>>Click
 

ภาคใต้

ขอบคุณภาพจาก http://www.photoxcite.com GALLERY ของชาว มอ. โดย NP


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– วิทยาเขตหาดใหญ่ , ภูเก็ต , สุราษฎร์ธานี , ตรัง เริ่มต้น 16,000 – 46,000
>>Click
– วิทยาเขตปัตตานี เริ่มต้น 18,000 – 24,000
>>Click

มหาวิทยาลัยทักษิณ
เริ่มต้น 10,000 – 15,000
>>Click

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เริ่มต้น 10,000 – 30,000
>>Click
 

กลุ่มเทคโนโลยีราชมงคล

ขอบคุณภาพจาก http://www..rmutt.ac.th


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เริ่มต้น 12,000 – 16,000 วุฒิ ม. 6 / ปวช. / ปวส. ภาคปกติ
เริ่มต้น 18,000 – 24,000 วุฒิ ม. 6 / ปวช. ภาคพิเศษ
เริ่มต้น 24,000 วุฒิ ปวส. ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
เริ่มต้น 9,700 – 11,900 ภาคปกติ / เริ่มต้น 18,700 – 20,900 ภาคสมทบ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
– วิทยาเขตบางพระ เริ่มต้น 17,100 – 41,800 ภาคปกติ / เริ่มต้น 19,600 ภาคสมบบ
>>Click
– วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เริ่มต้น 13,300 – 17,300 ภาคปกติ / เริ่มต้น 22,100 – 24,100 ภาคสมทบ
>>Click
– วิทยาเขตจันทบุรี เริ่มต้น 13,300 – 15,800 ภาคปกติ / เริ่มต้น 22,100 – 24,100 ภาคสมทบ
>>Click
– วิทยาเขตอุเทนถวาย เริ่มต้น 13,300 – 17,300 ภาคปกติ / เริ่มต้น 33,100 ภาคสมทบ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (กรุงเทพและปริมณฑล)
เริ่มต้น 5,000 – 6,000 ภาคปกติ 
>>Click
เริ่มต้น 14,500 – 17,500 ภาคสมทบ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

เริ่มต้น 7,000 – 15,000 วุฒิ ม. 6 / ปวช. ภาคปกติ
เริ่มต้น 7,000 – 9,000 วุฒิ ปวส. ภาคปกติ
เริ่มต้น 15,000 วุฒิ ม. 6 / ปวช. ภาคพิเศษ
เริ่มต้น 15,000 – 22,000 วุฒิ ปวส. ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 
เริ่มต้น 7,700 – 10,200 ภาคปกติ
>>Click
เริ่มต้น 14,000 – 19,500 ภาคสมทบ
>>Click

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
เริ่มต้น 4,500 – 7,000 ภาคปกติ,ภาคพิเศษ / เริ่มต้น 17,000 – 36,600 ภาคสมทบ
>>Click

กลุ่มราชภัฏ

ขอบคุณภาพจาก http://www.ssru.ac.th


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เริ่มต้น 4,000 – 15,000 : ลงทะเบียนไม่เกิน 10 หน่วยกิต / เริ่มต้น 8,000 – 30,000 : ลงทะเบียนเกิน 10 หน่วยกิต
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
เริ่มต้น 11,000 – 18,000 ภาคปกติ 
>>Click
เริ่มต้น 13,000 – 14,000 ภาค กศ.พบ. (เสาร์ – อาทิตย์)
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เริ่มต้น 12,500 – 25,700 ภาคปกติ 
>>Click
เริ่มต้น 11,500 – 14,600 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
เริ่มต้น 13,500 – 17,700
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
เริ่มต้น 9,900 – 12,000
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
เริ่มต้น 12,000 – 14,000
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์
เริ่มต้น 3,000 – 15,000
>>Click *หน้า 81 – 82 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เริ่มต้น 8,500 – 47,700
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เริ่มต้น 8,500 – 10,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 9,500 – 11,000 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
เริ่มต้น 11,150 – 19,150
>>Click *หน้า 12 – 14 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
เริ่มต้น 10,000 – 50,000
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัพระนครศรีอยุธยา
เริ่มต้น 7,000 – 9,400
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
เริ่มต้น 5,000 – 7,000 วุฒิ ม. 6 หรือ เทียบเท่า
เริ่มต้น 5,500 – 8,000 วุฒิ อนุปริญญา หรือ เทียบเท่า
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
เริ่มต้น 7,500 – 12,000
>>Click *หน้า 4

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
เริ่มต้น 11,180 – 16,130
>>Click *หน้า 1

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
เริ่มต้น 8,500 – 35,000
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เริ่มต้น 7,500 – 9,000 ภาคปกติ
>>Click
เริ่มต้น 6,200 – 7,700 ภาคพิเศษ : ศูนย์การศึกษาเลย
เริ่มต้น 7,100 – 8,700 ภาคพิเศษ : ศูนย์การศึกษาขอนแก่น
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
เริ่มต้น 7,000 – 12,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 8,000 – 13,000 ภาค กศ.ปช
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เริ่มต้น 7,300 – 10,000
>>Click *หน้า 2 – 4 

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เริ่มต้น 8,000 – 8,500 ภาคปกติ 
>>Click
เริ่มต้น 9,500 – 11,400 ภาค กศ.บป. (เสาร์ – อาทิตย์)
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เริ่มต้น 7,500 – 8,000
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เริ่มต้น 7,000 – 8,000 ภาคปกติ / เริ่มต้น 8,000 – 9,000 ภาคพิเศษ
>>Click

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เริ่มต้น 5,800 – 40,600 ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ 
>>Click
เริ่มต้น 8,200 – 9,800 ภาคปกติ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์
>>Click 

ค่าเทอม 9 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง

ช่วงนี้เรียกได้ว่า เป็นช่วงของการสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว ทั้งรับตรง แอดมิชชัน ฯลฯ ซึ่งสำหรับน้องๆ คนไหนที่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐก็ต้องเร่งทำคะแนนแข่งขันกันหน่อยในการสอบเข้าเรียนต่อ แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่พลาดโอกาสสอบไม่ติดในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลันเอกชนอยู่แล้วนั้น เช็คกันหรือยัง? ว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น เขามีค่าเทอมกันเท่าไหร่บ้าง? ซึ่งในวันนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวม 9 มหาวิทยาลัยเอกชน น่าเรียน มีการเรียนการสอนที่ไม่แพ้สถาบันไหนมาฝากกันด้วย งั้นลองมาดูค่าเทอมกันก่อนตัดสินใจเรียนต่อกันได้เลย

ค่าเทอม 9 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง

1. มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยรังสิต

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : www2.rsu.ac.th

2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้จบ ม. 6/ปวช./กศน.

ภาคปกติ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคบ่าย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคพิเศษ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้เทียบโอน ปวส.

ภาคปกติ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคพิเศษ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : www.bu.ac.th

3. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : www.admission.au.edu

4. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้จบ ม. 6/ปวช./กศน.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้จบ ปวส.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : www.spu.ac.th

5. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : www.dpu.ac.th

6. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : admission.utcc.ac.th

7. มหาวิทยาลัยพายัพ

มหาวิทยาลัยพายัพ

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : pradmission.payap.ac.th

8. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : admission.hcu.ac.th

9. มหาวิทยาลัยสยาม

มหาวิทยาลัยสยาม

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมของแต่ละคณะ/สาขาวิชาทั้งหมดได้ที่ : admission.siam.edu

6 สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ในช่วงชีวิตการเรียนนั้นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยน่าจะเป็นช่วงเวลาที่หนักที่สุด ทั้งในด้านความกดดัน และด้านคู่แข่งที่มากมาย หลายๆคนอาจมัวแต่เรียนพิเศษ เสียจนลืมเตรียมตัวด้านอื่นก่อนสอบมหาวิทยาลัยไปแล้ว วันนี้ Top-A tutor จึงมีบทความดีๆเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาฝากน้องๆทุกๆคนกันครับ

1. ค้นหาตัวเองให้เจอ

     น้องๆจำนวนมาก แม้กระทั่งม.6 แล้วก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอยากเป็นอะไร หรืออยากเข้าคณะอะไร มีหน้าที่เรียนไปเรื่อยๆ คณะก็เลือกตามเพื่อนๆเอา หรือเลือกตามที่พ่อแม่แนะนำให้เลือกเอา ซึ่งการเลือกเช่นนั้นเป็นวิธีการที่ผิดเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากว่าน้องๆเข้าไปเรียนแล้วไม่ชอบ ไม่ใช่ ก็อาจต้องเสียเวลา “ซิ่ว” มาเรียนคณะอื่น หรือต่อให้จบแล้วอาจจะต้องทนทำงานนั้นไปตลอดชีวิตก็คงจะไม่ดีแน่ๆ ดังนั้นน้องๆต้องค้นหาตัวเองให้เจอครับ ว่าเราชอบคณะอะไร ชอบทำอาชีพอะไร ซึ่งอาจทำได้โดยดูจากลักษณะนิสัยของตัวเอง ถามรุ่นพี่คณะต่างๆ หรือเข้าร่วมค่ายที่จัดโดยคณะต่างๆเพื่อค้นหาตัวเองให้เจอว่าคณะไหนนั้น “ใช่” สำหรับเรา

2. หาข้อมูลการสอบ

     วิธีการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้นก็มีหลากหลายทางไม่ว่าจะเป็น รับตรงของมหาวิทยาลัยเอง โควต้าชนิดต่าง หรือจะเป็นการรับผ่านระบบของการสอบกลาง ก็แล้วแต่ ดังนั้นน้องๆก็ควรจะหาข้อมูลให้พร้อมว่าคณะที่เราอยากเข้านั้นรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อผ่านทางไหนบ้าง เพราะยิ่งเราทราบวิธีการรับนักเรียนมากวิธีเท่าไหร่โอกาสในการที่จะได้เข้าคณะนั้นๆก็ยิ่งสูงขึ้นไงครับ

3. ถามรุ่นพี่คณะนั้นๆให้ชัวร์

     การถามรุ่นพี่คณะนั้นๆไม่ใช่การถามถึงวันสอบ การยื่นคะแนน หรืออะไรแนวนั้นนะครับ แต่เป็นการถามถึงรูปแบบการเรียนในมหาวิทยาลัยของคณะนั้นๆ งานที่รองรับเมื่อจบแล้ว เพื่อที่น้องๆจะได้ทราบว่าการเข้าไปเรียนนั้นน้องๆจะเรียนได้รึป่าว เรียนไหวไหม หรือจบมาแล้วรูปแบบการทำงานลักษณะแบบนี้โอเคไหม เป็นต้น

4. เตรียมจัดตารางการอ่านหนังสือ

     การสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นเราจะต้องแข่งขันกับนักเรียนทั้งประเทศ ดังนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอนใช่ไหมละครับ ดังนั้นน้องๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งม.6 จะมามัวแต่เล่น เที่ยว หรือเกเร ไม่ได้แล้วนะครับ น้องๆจะต้องมีการจัดตารางการอ่านหนังสือให้พร้อม โดยควรจัดตารางการอ่านหนังสือตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะตั้งแต่เปิดเทอมม.6 และควรวางแผนให้อ่านจบทั้งหมดก่อนสอบประมาณ 1-2 เดือน ไม่ใช่จบในคืนก่อนสอบละครับ

5. ทำโจทย์นั้นสำคัญ

     นอกจากเนื้อหาที่เราควรอ่านให้จบก่อนสอบ 1-2 เดือนแล้ว การทำข้อสอบก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยอาจทำโจทย์ไปพร้อมกับการอ่าน หรือทำในช่วง 1-2 เดือนที่เหลือจากการอ่านเนื้อหาก็ได้ แต่ต้องทำ!! เพราะการทำโจทย์นั้นจะทำเหมือนเป็นการลงสนามจริงหลังจากที่อ่านเนื้อหามาอย่างพร้อมแล้ว เพื่อที่จะประเมินว่าเรายังบกพร่องตรงจุดไหน หรือจริงๆแล้วที่เราอ่านมานั้นเราสามารถนำมาใช้ในการทำข้อสอบได้ดีแค่ไหน จะได้ปรับปรุงกันต่อไปไงครับ

6. ท้อได้ แต่อย่าถอย!

     ข้อนี้สำคัญมากนะครับ ในการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นคงเป็นช่วงชีวิตในการเรียนที่หนักที่สุดของน้องๆแล้วละ เพราะต้องแข่งกับนักเรียนทั้งประเทศ หลายครั้งที่อ่านหนังสือน้องๆอาจจะท้อ ซึ่งถ้าหากท้อก็อยากให้หยุดอ่านสักพัก ไปทำกิจกรรมอื่นๆที่อยากทำ และกลับมาอ่านหนังสือต่อ อย่าเพิ่งถอยจนเลิกอ่านไปเลย เพราะระหว่างที่เรากำลังเล่น คนอื่นอาจจะกำลังอ่าน และระหว่างที่เรากำลังอ่าน คนอื่นอาจจะกำลังอ่านมากกว่าก็ได้นะ……ท้อได้ แต่อย่าถอย กันละ พี่ๆขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนนะครับ

เทคนิคทำ Portfolio

Portfolio ต้องมีอะไรบ้าง?


พื้นฐานของ Portfolio โดยทั่วไปแล้วควรประกอบไปด้วย หน้าปก Portfolio, ประวัติส่วนตัว, ประวัติการศึกษา, กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม, รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่างๆ, ภาคผนวก

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?
เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

1. หน้าปก Portfolio


การทำหน้าปก Portfolio นั้นไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายไปเลยซะทีเดียว เราต้องทำยังไงก็ได้ให้ปกแฟ้มสะสมงานของเราดูน่าสนใจจนกรรมการผู้สัมภาษณ์หยิบขึ้นมาอ่าน ถ้าทำแบบนี้ได้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วละค่ะ

  • เทคนิค : เราควรบอกข้อมูลพื้นฐานของเราในหน้าปกด้วย เช่น ชื่อ-นามสกุล และโรงเรียน เป็นต้น ควรบอกข้อมูลในชัดเจน เลือกฟอนต์ตัวหนังสือให้อ่านง่าย เห็นชัด รูปภาพตัวเราบนหน้าปกควรเป็นรูปที่ดูแล้วรู้ทันทีว่าคือเรา อาจใส่ชุดไปรเวทได้ แต่ยังต้องอยู่ในความสุภาพเรียบร้อยอยู่ ควรหลีกเลี่ยงภาพที่ใส่กางเกงยีนส์ขาดๆ หรือเสื้อสายเดี่ยวต่างๆ
เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

2. ประวัติส่วนตัว


บอกประวัติส่วนตัวของตนเองให้ละเอียด อย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อเล่น, อายุ, วันเกิด, กรุ๊ปเลือด, นิสัย, ความชอบ หรืองานอดิเรก, สิ่งที่สนใจ หรือแม้กระทั่งว่าเรามองอนาคตอย่างไรก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้

  • เทคนิค : การเลือกฟอนต์เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย สะอาดสะอ้าน และมองเห็นได้ชัด และในส่วนนี้น้องๆ อาจโชว์ความสามารถสักหน่อยโดยการทำประวัติส่วนตัวเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ


3. ประวัติการศึกษา


บอกประวัติการศึกษาของตนเองโดยเรียงจากระดับจากน้อยที่สุดมาจนปัจจุบัน หากมั่นใจในเกรดเฉลี่ยของตนเองก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้เลย หากต้องการใส่ทรานสคริปแนะนำว่าให้ใส่ในส่วนของภาคผนวกแทน ชื่อโรงเรียนที่เขียนควรเป็นชื่อโรงเรียนแบบเต็มยศนะคะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อในการทำ Portfolio นะคะ

  • เทคนิค : อาจเลือกอธิบายประวัติการศึกษาโดยแบ่งเป็น ระดับประถม ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น และใช้เทคนิคการอธิบายแบบตาราง เพื่อให้ดูเข้าใจง่าย 


4. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม


ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของ Portfolio เลยก็ว่าได้ ดั้งนั้นควรเลือกกิจกรรมเด่นๆ ของเรามาใส่ในส่วนนี้ดีๆ นะคะ กิจกรรมในที่นี้หมายถึงกิจกรรมที่ไม่ใช่ด้านวิชาการต่างๆ โดยอาจจะเลือกการจัดเรียงแบบระดับชั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น เมื่อต้นระดับชั้นมัธยมต้นเคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เป็นต้น

  • เทคนิค :  เลือกใส่ผลงานที่เด่นๆ และมีความเกี่ยวข้องกับคณะที่เราอยากจะเข้า ในแต่ละกิจกรรมอาจเลือกเพียง 3-4 รูปในและเขียนอธิบายใต้ภาพสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายว่าเราทำอะไรในกิจกรรมนั้นๆ


5. รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่างๆ


ส่วนนี้ก็ถือเป็นหัวใจของ Portfolio เช่นกัน ดังนั้น เราควรเลือกแค่ผลงาน หรือรางวัลเด่นๆ ที่สามารถบอกว่าตัวเราเองนั้นมีความสามารถอะไรบ้างโดยการใส่ภาพผลงานนั้นๆ ลงไป ส่วนพวกเกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ สามารถอ้างอิงและนำไปใส่ในภาคผนวกได้ค่ะ

  • เทคนิค : ควรเขียนอธิบายความภูมิใจในผลงานต่างๆ ที่เคยได้ทำ ว่าเราภูมิใจอะไรในงานนั้น ลำบากแค่ไหนกว่าจะทำสำเร็จ เป็นต้น
เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

6. ภาคผนวก


ส่วนนี้คือส่วนที่ร่วมรวบเอกสารและภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เราต้องการที่จะใส่เพิ่มเติม โดยเอกสารหลักๆ ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ สำเนาใบทรานสคริป นั่นเอง ในส่วนของเกียรติบัตรต่างๆ แนะนำว่าให้ถ่ายเป็นสำเนาและเรียงตาม พ.ศ. ที่ได้รับ

  • เทคนิค :ในการใส่เกียรติบัตรหรือภาพต่างๆ ควรมีการระบุเลขหน้าไว้ด้วย เนื่องจากเวลาสัมภาษณ์เราจะได้พูดอ้างอิงได้ง่ายๆ ว่ามาจากเกียรติบัตรหรือกิจกรรมใด


ทั้งหมดนี้ก็คือส่วนประกอบพื้นฐานและเทคนิคต่างๆ ที่ Sanook! Campus หวังว่าจะมีส่วนช่วยน้องๆ ในการเป็นแนวทางทำ Portfolio อย่างไรก็ตาม การใส่ความเป็นตัวของตัวเองลงเป็นใน Portfolio นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ใครชอบแบบเรียบๆ ก็ทำรูปแบบให้ออกมาเรียบๆ สะอาดๆ แต่ก็ดูน่าสนใจได้ ไม่จำเป็นต้องมีสีสันจัดจ้านเสมอไปถึงจะสามารถดึงดูดให้กรรมการผู้สัมภาษณ์มาสนใจได้

ที่มา https://www.sanook.com/campus/1390633/

10 คำถาม สอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย

1. การแนะนำตัวเอง

การที่คณะกรรมการถามคำถามนี้ ไม่ใช่ว่าอยากรู้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ เพราะอย่าลืมว่าพวกเขาย่อมมีประวัติส่วนตัวของคุณโดยละเอียดอยู่แล้ว ดังนั้นคำถามนี้จึงเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้คุณทำคะแนนสร้างความประทับใจแรกแก่กรรมการ และยังเหมือนเป็นการละลายพฤฒิกรรมให้คุณผ่อนคลายกับคำถามต่อๆ ไปอีกด้วย

คำตอบ : สำหรับข้อนี้ ไม่มีอะไรแนะนำคุณมากนัก นอกจากให้คุณมี ‘สติ’ เพราะถ้าคำถามแรกคุณตอบอย่างมีสติ รับรองว่าคำถามต่อๆ ไปผ่านฉลุยแน่นอน

2. ทำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้

เป็นคำถามที่ร้อยทั้งร้อยต้องเจอ และยังเป็นคำถามที่ชี้วัดชะตากรรมของคำถามต่อไปเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณตอบดีเข้าตากรรมการ คำถามต่อไปก็ง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะกว่า 50% ของคณะกรรมการจะตัดสินในใจแล้วว่าคุณเหมาะหรือไม่กับการเรียนคณะนี้นั่งเอง

คำตอบ : เชื่อว่าหลายคนที่เจอคำถามนี้ ก็ต้องตอบว่า “อยากเรียนมานานแล้วค่ะ/ครับ” ซึ่งคำตอบแบบนี้ถือว่าเฉยๆ มาก พวกเขาจะไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับคำตอบของคุณเลยจนกว่าคุณจะกล่าวข้อมูลเสริมเข้าไป เช่น ฝันอยากแอร์โฮสเตสมาตั้งแต่เด็ก จึงตั้งใจเรียนด้านภาษามาโดยตลอด และทุกครั้งที่ขึ้นเครื่องบินได้มีโอกาสเห็นพี่ๆ เขาพูดภาษาคล่องๆ ให้บริการอย่างชำนาญแล้วก็ยิ่งรู้สึกมีแรงบันดาล ดังนั้นจึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้ เป็นต้น

3. รู้หรือไม่ว่าคณะ/สาขานี้เรียนอะไรบ้าง?

คำถามนี้เป็นการทดสอบว่าคุณหาความรู้เกี่ยวกับคณะที่จะเข้ามาศึกษามากน้อยเพียงใด ดังนั้นจึงไม่ควรตอบแบบผิวเผิน เช่น ไม่ทราบ หรือ คณะมนุษย์ศาตร์ก็มีไว้สอนภาษา เพราะถ้าตอบแบบนั้นก็เตรียมรอสอบที่ใหม่ได้เลย

คำตอบ : สำหรับข้อนี้คุณควรจะตอบเป็นเชิงลึกลงไป เช่น คณะมนุษย์ศาตร์เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนหลากหลาย ซึ่งนอกจากภาษาแล้ว ยังสอนการบริการ, การตลาด, การบริหาร รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริงอีกด้วย เรียกได้ว่ารู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้ให้ตอบออกไปให้หมดเลยก็ว่าได้

4. เรียนหนักนะ จะไหวเหรอ?

เป็นคำถามสั้นๆ แต่ได้ใจความ เพราะเป็นเหมือนการคอนเฟริมความมั่นใจของคุณไปในตัว คณะกรรมการบางคนอาจจะถามเหมือนเป็นเชิงดูถูกให้คุณของขึ้นเล่นๆ แต่อย่าไปคิดมาก ให้ตอบแบบมั่นใจเข้าไว้ว่าเราทำได้

คำตอบ : ไหวแน่นอนค่ะ/ครับ เพราะถ้าได้เข้าคณะที่ฝันมานาน คิดว่าคงไม่มีไรยากไปกว่านี้แล้วค่ะ/ครับ ขอย้ำว่าเสียงที่ตอบต้องมีความมั่นใจ ห้ามยิ้มแหย่ๆ หรือเกาหัวแก๊กๆ เป็นอันขาด

5. แล้วถ้าไม่ได้ที่นี่จะทำยังไง

เมื่อได้ยินคำถามนี้ ขอย้ำคำว่า ‘สติ’ อีกครั้ง เพราะคณะกรรมการเพียงแค่ดูไหวพริบและความคิดหลังจากได้รับแรงกดดันเท่านั้น ห้ามตอบว่า ‘ไม่ทราบ’ เป็นอันขาด

คำตอบ : ให้ย้ำความตั้งใจที่จะเข้าคณะนี้อีกครั้ง โดยอาจจะตอบว่าจะรอรอบสัมภาษณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการย้ำว่าคุณต้องการเข้าศึกษาต่อคณะนี้จริงๆ

6. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่เคยเข้าร่วม

คำถามนี้ไม่ใช่การชวนคุย แต่เป็นคำถามที่จะดูว่าคุณเป็นคนมีสาระหรือไม่ ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์หรือเปล่า และกิจกรรมที่คุณเคยทำสอดคล้องกับคณะที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด

คำตอบ : ข้อนี้คุณอาจจะตอบสร้างภาพเกี่ยวกับกิจกรรมที่สอดคล้องกับคณะที่จะเข้าก็ได้ หรือถ้าคุณจะตอบแบบตรงไปตรงมา ก็ขอให้คุณอธิบายเพิ่มเติมไปว่า เพราะอะไรถึงเข้าร่วมและกิจกรรมที่ทำมีประโยชน์อะไรบ้าง แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะทำกิจกรรมที่ตรงกับอาชีพหรือคณะที่เรียน ขนาดหมอยังไปเตะบอล ทั้งที่ไม่ได้จบคณะพละศึกษาสักหน่อย

7. ข้อดีของคุณคืออะไร

แน่นอนว่าหลายคนย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่ข้อดีของคุณมันดีต่อคนอื่นหรือเปล่านั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

คำตอบ : ให้คุณตอบไปเลยอย่างมั่นใจว่าคุณมีข้อดีอะไรบ้าง แต่อย่าลืมที่จะเติมท้ายไปว่า ข้อดีของคุณดีต่อคนอื่นอย่างไรด้วยนะ

8. ข้อเสียของคุณคืออะไร

บางคนอาจตอบอย่างมั่นใจว่า ‘ไม่มี’ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง แต่คุณอย่าลืมคิดไปว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีพร้อมไปหมดทุกอย่างหรอกนะ และคนที่รู้ข้อเสียของตนเองก็ดูเป็นคนน่าคบหามากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีข้อเสียอะไร

คำตอบ : ข้อนี้คุณควรตอบข้อเสียของคุณออกไปเลยอย่างมั่นใจ แต่อย่าลืมที่จะบอกวิธีแก้ไขข้อเสียของคุณเข้าไปด้วย เช่น เป็นคนไม่รอบคอบ แต่ก็พยายามทวนสิ่งที่ต้องทำหรือสิ่งที่สำคัญทุกครั้งก่อนไปทำอย่างอื่นค่ะ/ครับ คำตอบแนวนี้จะช่วยให้เขาคิดว่า คุณเป็นคนยอมรับในข้อผิดพลาดของตัวเองและพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ

9. ถามการเดินทางมาเรียนเป็นอย่างไร

หลายคนอาจมองว่าเป็นคำถามไร้สาระ แต่เชื่อหรือไม่ว่าระยะการเดินทางมาเรียน ถือเป็นสาเหตุหลักให้รุ่นพี่ของคุณโดนรีไทล์มาแล้ว ดังนั้นก่อนตอบต้องคิดให้ดีและตอบอย่างมั่นใจ

คำตอบ : ให้คุณตอบไปตามความจริง เพราะอย่าลืมว่า เขามีที่อยู่ของคุณอยู่ในมือ ซึ่งถ้าหากคุณพักอยู่ไกลก็ให้ตอบไปเลยว่าไกล แต่จะพยายามออกเดินทางให้เร็วขึ้น คุณอาจจะเล่าแผนการเดินทางมาเรียนให้เขาฟังก็ได้ หรือเสริมท้ายไปว่าหากได้เข้าเรียนคณะนี้แล้วระยะทางเป็นอุปสรรคต่อการเรียนจริงๆ จะหาที่พักที่เดินทางสะดวกครับ/ค่ะ

10. มีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่

คำถามนี้ไม่ใช่คำถามเล่นๆ อย่างแน่นอน เพราะหลายคนที่กำลังนั่งสัมภาษณ์อยู่คงมีคำถามมากมายอยู่ในหัว อาจจะเกี่ยวกับกำหนดการประกาศผลสอบสัมภาษณ์ หรือขอคำแนะนำในการเตรียมตัวเมื่อรู้ผลก็ได้

คำตอบ : ข้อนี้ไม่มีคำตอบตายตัว แต่ขอแนะนำว่า ให้คุณถามข้อสงสัยที่มีอยู่ออกไปทั้งหมด แต่ต้องเป็นคำถามที่ Make Sense หน่อยนะ เช่น ถ้าไม่ผ่านจริงๆ ทางคณะมีแนวทางการช่วยเหลืออะไรบ้าง เป็นต้น แต่อย่าเงียบหรือตอบว่า ‘ไม่มี’ เพราะคุณจะดูเป็นคนไม่มีความใส่ใจไปเลยทันที

ที่มา : eduzones.com

TCAS61/62 คณะไหน ใช้ 9 วิชาสามัญอะไรบ้าง?

ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ที่มา เพจFACEBOOK Dek-D’s TCAS สอบติดไปด้วยกัน

https://web.facebook.com/dekdTCAS/?tn=kCH-R&eid=ARAXj0a01SVjiBetAvsqqvh3le83U8X7dNrvLseDJ6JPC8ikDUcjic87UZ-Pm5gYjmTFsSVCfZpmJnQR&hc_ref=ARSNPhhlhh4m0OUGhLPJgeDhvc2gH0nI28jYBSfinT-YlJD4HpJV-ZfsnXX4Y3oxs1A&fref=nf&xts%5B0%5D=68.ARAcoAfrqE7-1OYMYIIC1XxGap-Kj2Nqw3dqQjsd7ZQ8vcNOndoGj1z6CWuK4b14WTMpNcRnqQBqVR4tJyVqCm08DhxSfX91DGZGNMYZmM2lBfN76krMhAYApFyUmpga8yAi3SUfqurVQKDpaWLMadpJArNkqZoPltwPwW50ErykrigPG4Sawr_CDMQZdgJvzRbkCyE-0tTipYED-jFoTWJfiqhr6nQ_xBB9Pksj5zrZD2zTLR3LPWqk3GA0TQ35xHaY78wsGX6qxlIKOx3UsH8Nh8CQ4BQm6_138m4pzz0kynh3FoHgbvoPI_uoSntAvQo3uTGbR-lYEaXya-HAy4zp15cNyzreQJ18bq3swy7bHojtOyNbCRZtcLmeqHOPmZd7zJpOp2RzxvIUmZHh5xTQX6MNkbE6fK7DBC-YgNAn7K-u54MxHDnDql6RJCr65SVocC40G1Ue_3wvfenbrAZs11-SAzmgo1tBKehritINegLLlCE2ng

องค์ประกอบคะแนนของคณะต่างๆ

GAT / PAT

GAT และ PAT ถือว่าเป็นคะแนนที่สำคัญมากทีเดียวเลยล่ะ เพราะใช้ในการสอบเข้ามหาลัย ทั้งในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งในแอดมิชชั่นกลางนั้น GAT/PAT รวมกันจะเป็นสัดส่วนถึง 50% เลยละคะ เรียกว่าถ้าไม่มีคะแนนนี้ก็ไม่ได้แอดมิชชั่น ส่วนอีก 50% ที่เหลือก็เป็นสัดส่วนรวมกันของเกรด(GPAX) ซึ่งจะเป็นเกรดเฉลี่ยรวมตั้งแต่ชั้น ม.4 ถึง ม.6

และที่บอกว่ารับตรงก็ใช้คะแนน GAT/PAT  นั้น บางที่แทบจะใช้เป็นเกณฑ์สำคัญเลยทีเดียว เช่น รับตรงปกติ จุฬาฯ, รับตรง มธ.บางคณะ, รับตรงแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น และรับตรงรอบแรกส่วนใหญ่ก็จะใช้ GAT/PAT รอบแรกเท่านั้น เพราะรับตรงโครงการนั้นๆ มักจะเสร็จสิ้นก่อนจะสอบ GAT/PAT รอบมีนาคม จึงใช้ได้แค่รอบเดียว ดังนั้นเตือน นักเรียน ม.6 อย่าลืมสมัคร จะได้ไม่เสียสิทธิ์รับตรงของบางคณะ

GAT/PAT

GAT และ PAT คืออะไร สอบไปทำไม?

GAT คือ การวัดความถนัดทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

Part ภาษาไทย หรือที่เราเรียกว่าพาร์ทเชื่อมโยง หรือ GAT เชื่อมโยงกัน จะวัดเรื่องความสามารในการอ่า ะวิเคราะห์ การเขียน และการแก้โจทย์ปัญหา

Part ภาษาอังกฤษ ก็วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไป Speaking  /Conversation/Vocabulary/Structure and Writing/Reading Comprehension รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนน

PAT คือ วิชาสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งออกเป็นหลายวิชา และวัดศักยภาพตามกลุ่มวิชาชีพ คือ

PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ และภาษาบาลี

แต่ละคณะ ใช้คะแนนอะไรบ้าง?

แต่ละคณะจะใช้สัดส่วนคะแนนต่างกัน จัดเป็นกลุ่มๆได้ตามนี้ค่ะ

กลุ่มที่ 1

คณะสัตวแพทยฯ, คณะสหเวชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะวิทยาศาสตร์กีฬา

score structure grp 1

กลุ่มที่ 2

คณะทันตแพทยศาสตร์

score structure grp 2

กลุ่มที่ 3

คณะเภสัชศาสตร์

score structure grp 3

กลุ่มที่ 4

score structure grp 4

คณะวิทยาศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ

กลุ่มที่ 5

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

score structure grp 5

กลุ่มที่ 6

คณะวิศวกรรมศาสตร์

score structure grp 6

*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1 เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์

กลุ่มที่ 7

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

score structure grp 7

กลุ่มที่ 8

คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

score structure grp 8

กลุ่มที่ 9

คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์

score structure grp 9

*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2 เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

กลุ่มที่ 10

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

score structure grp 10-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 10-2

รูปแบบที่ 2

กลุ่มที่ 11

คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์

score structure grp 11-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 11-2

รูปแบบที่ 2

กลุ่มที่ 12

คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ

score structure grp 12

กลุ่มที่ 13

คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

score structure grp 13-1

รูปแบบที่ 1

score structure grp 13-2

รูปแบบที่ 2

score structure grp 13-3

รูปแบบที่ 3

ใครสอบได้บ้าง? คะแนนอยู่ได้กี่ปี?

สำหรับการสอบ GAT/PAT นั้น นักเรียน ม.6 เด็กซิ่ว และ สายอาชีพ สามารถสอบได้ทั้งหมด อายุของคะแนนสอบ GAT/PAT อยู่ได้ 2 ปีค่ะ นั่นหมายความว่า ถ้านักเรียน ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ค่ะ แต่ต้องระวัง เพราะในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างคือ ต้องดูรายละเอียดให้ชัดเจนถี่ถ้วน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางให้น้องๆ ม.6 เลือกสมัครสอบ GAT/PAT ได้ครบถ้วน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย จะใช้รูปแบบใดบ้าง ดังนั้นต้องไม่ลืมเช็คจากประกาศรับสมัครของแต่ละมหาวิยาลัยอีกครั้งจะได้ไม่พลาด และน้องๆ ต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวเรื่อยๆ จากทาง สทศ. ด้วยนะคะ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม

ที่มา https://teen.mthai.com/education/143695.html

แนวทางคณะสายศิลป์

#1 นักเศรษฐศาสตร์ (Economist)

นักเศรษฐศาสตร์ อาชีพที่ต้องจบจากสายศิลปศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่มีศักยภาพในด้านค่าตอบแทนที่ใกล้เคียงกับสายวิชาชีพประเภท การเงิน การแพทย์ กฎหมาย และเทคโนโลยี เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีสูงมากถึง $40,000 – $200,000 หรือประมาณ 1,325,000 – 6,629,000 บาท

#2 นักโบราณคดี (Archaeologist)

ในต่างประเทศอาชีพนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ จัดว่าเป็นอาชีพสำคัญและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก มีอัตราเงินเดือนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ $40,000 – $171,000 ต่อปี หรือประมาณ 1,325,000 – 5,667,000 บาท และยังถูกจัดว่าเป็นหลักสูตรขั้นสูงอีกด้วย

#3 นักจิตวิทยา (Psychologist)

เป็นหลักสูตรที่เน้นและมีความเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยคล้ายกันกับการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่หากต้องการจะประกอบอาชีพเป็นนักจิตบำบัด จำเป็นต้องมีความรู้ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกด้วย ในแง่ของค่าตอบแทนแล้วถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เงินเดือนเริ่มต้น $67,000 ต่อปี คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 2,220,780 บาท

#4 นักสังคมวิทยา (Sociologist)

หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับอาชีพนี้ จัดว่าเป็นสาขาวิชาที่แปลกใหม่ เนื้อหาหลักๆ มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ หลังจบการศึกษา น้องๆ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างก้าวขวางทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ เช่น งานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานด้านฝึกอบรมและพัฒนา งานนโยบายและแผน งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี $55,000 – $97,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,823,028 – 3,215,159 บาท

#5 ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relations Specialist)

นอกจากการโฆษณา ก็มีการประชาสัมพันธ์นี้แหละที่ทำให้สร้างภาพพจ์ที่ดีต่อองค์กร โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเสนอความรู้ จูงใจให้มีบุคคลหรือหน่วยงานมาสนับสนุนองค์กรของเรานั่นเอง งานของประชาสัมพันธ์มีหลากหลายมากตั้งแต่การติดต่อประสานงานกับนักข่าว การหาลูกค้า การทำโฆษณา สื่อ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของลูกค้า โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ $40,000 – $73,000 ต่อปี หรือประมาณ 1,325,000 – 2,419,000 บาท

#6 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Specialists)

อาชีพยอดนิยมอีกหนึ่งงานอย่าง HR หรืองานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ที่ทำงาในตำแหน่งตรงนี้จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อัธยาศัยดี เพราะจะต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอยู่เป็นประจำ ทำหน้าที่คัดสรรบุคคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานร่วมกันภายในองค์กรนั่นเอง เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี  $42,000 – $72,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,392,000 – 2,386,000 บาท

#7 นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)

ในยุคปัจจุบันงานด้านกราฟฟิกมีความสำคัญมาก ทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ สื่อ นิตยสาร วารสาร หนังสือ โฆษณา หรือแผ่นพับใบปลิวต่างๆ จึทำให้นักศึกษาที่เรียนจบด้านศิลปะ การออกแบบ มีความต้องการจ้างมากในต่างประเทศ หรือประเทศไทยเองก็ต้องการเช่นกัน ซึ่งนักกราฟฟิกที่ดีนั้นต้องรู้จักการผสมผสานและมีทักษะทั้งด้านศิลปะและเทคโนโลยี ให้เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อมาใช้ในงานอยู่ตลอดเวลา ทั้งงานโฆษณา ออกแบบผลิตภัณฑ์ แอนิเมชัน ออกแบบเว็บไซต์ เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี $33,000 – $65,000 หรือประมาณ 1,093,000 – 2,154,000 บาท

#8 นักเขียน (Writer)

1-6

ใครที่มีใจรักในงานเขียน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ นักเขียน เป็นอาชีพที่เหมาะสมกับคุณค่ะ หนึ่งในอาชีพสาขานิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือเรียกว่าคณะวารสารศาสตร์ ใช้ทั้งทักษะการเขียน ทักษะทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือสื่ออื่นๆ แม้แต่การเขียนออนไลน์ ถือเป็นอาชีพที่ผสมหลายๆ ทักษะความรู้เข้าด้วยกัน หากคุณเขียนด้านเฉพาะได้ยิ่งเพิ่มทักษะและเป็นที่ต้องการของนายจ้างเพิ่มขึ้นอีกเช่น การเขียนด้านวิทยาศาสตร์ รายงานข่าวได้ ท่องเที่ยว เทคโนโลยี เป็นต้น ได้เงินเดือนเฉลี่ยสูงถึง $57,000 – $65,000 ต่อปี หรือประมาณ1,889,000 – 2,154,000 บาท

#9 ครู (Teacher)

อาชีพครูในสายศฺลป์ สามารถแตกแขนงได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นครูวิชาศิลปะ ภาษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ซึ่งสายวิชาเหล่านี้จะรวมอยู่ในคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ โดยในต่างประเทศ หลักสูตรวิชาเหล่านี้จะมีการฝึกอบรมเพื่อที่หลังเรียนจบออกมาเป็นคุณครูได้เลย แต่ก็ยังต้องมีการทดสอบเสียก่อนเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยรายได้ของครูในต่างประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ $47,000-$52,000 หรือประมาณ 1,557,000 – 1,723,000บาท เริ่มต้นตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และจะมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

#10 นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)

48893


สำหรับใครที่มีใจรักในการพัฒนาสังคม ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พร้อมให้คำปรึกษาผู้อื่น แก้ไขปัญหาให้กับบุคคลต่างๆ เด็กสายศิลป์ รีบพุ่งไปเรียนที่คณะสังคมสงเคราะห์เลยค่ะ ในประเทศไทยอาชีพนี้อาจจะดูเงียบเหงาไปบ้าง แต่น้องๆ จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในต่างประเทศ เงินเดือนเฉลี่ยต่อปีอัตราอยู่ที่ $37,000 – $56,000 คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณ 1,226,400 –1,856,000 บาท

 

 

 

5 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับขอพร

     เราเชื่อว่าสำหรับเด็กม.6หลายๆคนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือและเตรียมความพร้อมอย่างดี แต่มันก็อดไม่ได้จริงๆที่จะต้องหาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อบนบานหรือขอพรให้สอบติดเข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่หวัง  ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สุดฮิตมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1.ศาลพระพิฆเนศ   

สี่แยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ

2.พระพรหมเอราวัณ   สี่แยกราชประสงค์

3.ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ

4.ศาลเจ้าพ่อเสือ บางเขน

5.ศาลคุณปู่คุณย่า เมืองทองธานี

       นอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกเยอะเลยไม่ว่าจะใกล้หรือไกล เลือกสถานที่ที่สะดวกดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามตัวเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมตัวเองด้วยนะคะไม่ใช่จะพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียว ถ้าเราเตรียมความพร้อมมาอย่างดีแล้ว เราเชื่อว่าทุกคนจะไม่เสียใจแน่นอนค่ะ